ความเป็นครูในสังคมไทย
Self Empower for Teacher in ThaiSociety
Self Empower for Teacher in ThaiSociety
ความสำคัญของวิชาชีพครู บทบาทหน้าที่ภาระงานและความรับผิดชอบของครู การพัฒนาการของวิชาชีพครู คุณลักษณะของครูที่ดี การเป็นครูดี ครูเก่งและครูที่มีความสามารถถ่ายโยงความรู้ การสร้างทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพครู การเสริมสร้างศักยภาพและสมรรถภาพความเป็นครู การเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ มีวิสัยทัศน์และการเป็นผู้นำทางวิชาการ เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู จรรยาบรรณของวิชาชีพครู การสร้างเสริมคุณธรรม จริยธรรมสำหรับครู การพัฒนาบุคคลิกภาพให้สอดคล้องกับวิชาชีพครู การส่งเสริมความรักความศรัทธาและเจตคติที่ถูกต้องต่อวิชาชีพครู ครูกับองค์กรวิชาชีพครู แนวทางควบคุมส่งเสริมและสร้างสรรค์วิชาชีพครูให้เป็นวิชาชีพชั้นสูง ที่มีเกียรติมีศักดิ์ศรีทัดเทียมกับวิชาชีพอื่น ๆ
ความหมายของคำว่า “ครู”
ครูคือใคร ? คำว่า “ครู” มีความหมายลึกซึ้งกว้างขวางมากนัก แต่ถ้าดูจากรากศัพท์ ภาษาบาลีว่า “ครุ” หรือ ภาษาสันสกฤตว่า “คุรุ” นั้น มีความหมายว่า “ผู้สั่งสอนศิษย์ หรือ ผู้ควรได้รับการเคารพ” ได้มีผู้ให้ความหมายของคำว่า “ครู” ไว้หลายประการ เช่น “ครู” คือ ผู้ทำหน้าที่สอนและให้ความรู้แก่ศิษย์ เพื่อให้ศิษย์เกิดความรู้ ความก้าวหน้าในสาขาวิชานั้น ๆ ยนต์ ชุ่มจิต (2541: 29) ได้อธิบายคำว่า “ครู” ดังนี้
1. ครู
เป็นผู้นำทางศิษย์ไปสู่คุณธรรมชั้นสูง
2.ครู
คือ ผู้อบรมสั่งสอนถ่ายทอดวิชาความรู้ให้แก่ศิษย์ เป็นผู้มีความหนักแน่น
ควรแก่การเคารพของลูกศิษย์
3. ครู คือผู้ประกอบอาชีพอย่างหนึ่งที่ทำหน้าที่สอน มักใช้กับผู้สอนในระดับต่ำ กว่าวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษา
รังสรรค์ แสงสุข อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง (2550: 38) ได้ให้ความเห็นว่า “ครู” คือ
ครู คือ ผู้ที่ให้ความรู้ไม่จำกัดทุกที่ทุกเมื่อ ครูต้องเต็มไปด้วยความรู้ และรู้จัก ขวนขวายหาองค์ความรู้ใหม่ ๆ สะสมความดี มีบารมีมาก และครูที่ดีจะต้องไม่ปิดบัง ความรู้ ควรมีจิตและวิญญาณของความเป็นครู
ครู คือ ผู้เติมเต็ม การที่ครูจะเป็นผู้เติมเต็มได้ ครูควรจะเป็นผู้แสวงหาความรู้ ต้อง วิเคราะห์ วิจัย วิจารณ์ และมาบูรณาการความรู้ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน
3. ครู คือผู้ประกอบอาชีพอย่างหนึ่งที่ทำหน้าที่สอน มักใช้กับผู้สอนในระดับต่ำ กว่าวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษา
รังสรรค์ แสงสุข อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง (2550: 38) ได้ให้ความเห็นว่า “ครู” คือ
ครู คือ ผู้ที่ให้ความรู้ไม่จำกัดทุกที่ทุกเมื่อ ครูต้องเต็มไปด้วยความรู้ และรู้จัก ขวนขวายหาองค์ความรู้ใหม่ ๆ สะสมความดี มีบารมีมาก และครูที่ดีจะต้องไม่ปิดบัง ความรู้ ควรมีจิตและวิญญาณของความเป็นครู
ครู คือ ผู้เติมเต็ม การที่ครูจะเป็นผู้เติมเต็มได้ ครูควรจะเป็นผู้แสวงหาความรู้ ต้อง วิเคราะห์ วิจัย วิจารณ์ และมาบูรณาการความรู้ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน
ครู
คือ ผู้ที่มีเมตตา จะต้องสอนเต็มที่โดยไม่มีการขี้เกียจหรือปิดบังไม่ให้ความรู้
เต็มที่ ครูต้องไม่ลำเอียง ไม่เบียดเบียนศิษย์
ในหนังสือ พจนะ - สารานุกรมไทย เปลื้อง ณ นคร
(2516: 89) ได้ให้ความหมายของคำว่า “ครู”
ไว้ดังนี้
1. ผู้มีความหนักแน่น
2. ผู้ควรแก่การเคารพของศิษย์
3. ผู้สั่งสอน
2. ผู้ควรแก่การเคารพของศิษย์
3. ผู้สั่งสอน
คาร์เตอร์ วี กู๊ด (Carter V. Good. 1973: 586) ได้ให้ความหมายของคำว่า
“ครู” (teacher) ไว้ดังนี้ คือ
1. Person employed in an official capacity for the purpose of guiding and directing the learning experience of pupils or students in an educational institution whether public or private.
2. Person who becomes of rich or unusual experiencing or education or both in given field is able to contribute to the growth or development of other person who comes to contact with him.
1. Person employed in an official capacity for the purpose of guiding and directing the learning experience of pupils or students in an educational institution whether public or private.
2. Person who becomes of rich or unusual experiencing or education or both in given field is able to contribute to the growth or development of other person who comes to contact with him.
3. Person who has completed a professional curriculum in a teacher
education institution and whose training has been officially recognized by the
award of an appropriate teaching certificate.
4. Person who instructs the other.
จากคำ ภาษาอังกฤษข้างบนนั้น จะเห็นได้ว่า
ความหมายของคำว่า “ครู”
(Teacher) คือ
1. ครู คือ ผู้ที่มีความสามารถให้คำแนะนำ เพื่อให้เกิดประโยชน์ทางการเรียน
สำหรับนักเรียน หรือ นักศึกษาในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ทั้งของรัฐและเอกชน
2. ครู คือ
ผู้ที่มีความรู้ประสบการณ์และมีการศึกษามากหรือดีเป็นพิเศษ หรือมี
ทั้งประสบการณ์และการศึกษาดีเป็นพิเศษในสาขาใดสาขาหนึ่งที่สามารถช่วยให้ผู้อื่นเกิด
ความเจริญก้าวหน้าได้
3. ครู คือ
ผู้ที่เรียนสำเร็จหลักสูตรวิชาชีพจากสถาบันการฝึกหัดครู และได้
ใบรับรองทางการสอนด้วย
4. ครู คือ ผู้ที่ทำหน้าที่สอนให้ความรู้แก่ศิษย์
4. ครู คือ ผู้ที่ทำหน้าที่สอนให้ความรู้แก่ศิษย์
นอกจากนี้ คำว่า “ครู”
ยังมีความหมายอื่น ๆ ได้อีก เช่น
1.
“ครู คือ ปูชนียบุคคล” หมายถึง ครูที่เสียสละ
เอาใจใส่เพื่อความเจริญของศิษย์ ซึ่งเป็นบุคคลที่ควรเคารพเทิดทูน
2. “ครู คือ แม่พิมพ์ของชาติ” หมายถึง การเป็นแบบอย่างที่ดีของลูกศิษย์ที่จะ ปฏิบัติตัวตามอย่างครู
3. “ครู คือ ผู้แจวเรือจ้าง” หมายถึง อาชีพครูเป็นอาชีพที่ไม่ก่อให้เกิดความ ร่ำรวย ครูต้องมีความพอใจในความเป็นอยู่อย่างสงบเรียบร้อยอย่าหวั่นไหวต่อลาภยศความ สะดวกสบาย
2. “ครู คือ แม่พิมพ์ของชาติ” หมายถึง การเป็นแบบอย่างที่ดีของลูกศิษย์ที่จะ ปฏิบัติตัวตามอย่างครู
3. “ครู คือ ผู้แจวเรือจ้าง” หมายถึง อาชีพครูเป็นอาชีพที่ไม่ก่อให้เกิดความ ร่ำรวย ครูต้องมีความพอใจในความเป็นอยู่อย่างสงบเรียบร้อยอย่าหวั่นไหวต่อลาภยศความ สะดวกสบาย
โดยสรุปอาจกล่าวได้ว่า ครู คือ
ผู้ที่ทำหน้าที่สอนให้ศิษย์เกิดความรู้ และมี คุณธรรม จริยธรรมที่ดี
นำประโยชน์ให้แก่สังคมได้ในอนาคต
ความหมายของคำว่า “อาจารย์”
ปัจจุบันคำว่า “ครู” กับ
“อาจารย์” มักจะใช้ปะปนหรือควบคู่กันเสมอ
จนบางครั้งดู เหมือนว่า จะมีความหมายเป็นคำคำเดียวกัน แต่ในความเป็นจริงแล้ว
รากศัพท์เดิมของ คำว่า “อาจารย์” ไม่เหมือนกับคำว่า
“ครู” และเมื่อพิจารณาถึงความหมายดั้งเดิมแล้วยิ่งไม่
เหมือนกัน
ท่านพุทธทาสภิกขุ (2529: 93) ได้จำแนกความหมายของ “อาจารย์” เป็น 2 แบบ คือ
1. ความหมายดั้งเดิม หมายถึง ผู้ฝึกมารยาท หรือเป็นผู้ควบคุมให้อยู่ในระเบียบ วินัย เป็นผู้รักษาระเบียบกฎเกณฑ์ต่าง ๆ
2. ความหมายปัจจุบัน หมายถึง ฐานะชั้นสูงหรือชั้นหนึ่งของผู้ที่เป็นครู
ในหนังสือพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรมของพระราชวรมุนี (ประยุกต์ ปยุตฺโต) (2528: 185) อธิบายความหมายของอาจารย์ไว้ดังนี้
1. ผู้ประพฤติการอันเกื้อกูลแก่ศิษย์
2. ผู้ที่ศิษย์พึงประพฤติด้วยความเอื้อเฟื้อ
3. ผู้สั่งสอนวิชาและอบรมดูแลความประพฤติ
ท่านพุทธทาสภิกขุ (2529: 93) ได้จำแนกความหมายของ “อาจารย์” เป็น 2 แบบ คือ
1. ความหมายดั้งเดิม หมายถึง ผู้ฝึกมารยาท หรือเป็นผู้ควบคุมให้อยู่ในระเบียบ วินัย เป็นผู้รักษาระเบียบกฎเกณฑ์ต่าง ๆ
2. ความหมายปัจจุบัน หมายถึง ฐานะชั้นสูงหรือชั้นหนึ่งของผู้ที่เป็นครู
ในหนังสือพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรมของพระราชวรมุนี (ประยุกต์ ปยุตฺโต) (2528: 185) อธิบายความหมายของอาจารย์ไว้ดังนี้
1. ผู้ประพฤติการอันเกื้อกูลแก่ศิษย์
2. ผู้ที่ศิษย์พึงประพฤติด้วยความเอื้อเฟื้อ
3. ผู้สั่งสอนวิชาและอบรมดูแลความประพฤติ
แต่ความหมายของคำว่า “อาจารย์” ตามทัศนะของชาวตะวันตก
จะหมายถึง ผู้สอนในวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยที่มีตำแหน่งต่ำกว่าระดับศาสตราจารย์
และเป็นผู้สอน ที่ต้องรับผิดชอบต่อการสอนนักศึกษาให้เกิดความก้าวหน้าตามประสงค์เฉพาะของ
การศึกษาที่กำหนดไว้
เมื่อพิจารณาความหมายของคำว่า “อาจารย์” ตามทัศนะของคนไทยกับทัศนะ
ของชาวตะวันตกแล้วจะเห็นได้ว่า อาจารย์ของชาวตะวันตกจะเน้นความสำคัญไปที่การ สอน
คือเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญในการสอนเฉพาะด้าน และเป็นผู้ที่ทำการสอนใน
สถาบันการศึกษาชั้นสูง แต่ความหมายของคำว่า “อาจารย์”
ตามทัศนะของคนไทย จะมี ความหมายกว้างกว่า
คือเป็นทั้งผู้สอนวิชาความรู้ อบรมดูแลความประพฤติ และเป็นผู้ที่มี
ฐานะสูงกว่าผู้เป็นครู ดังนั้นจึงพอสรุปความหมายของคำว่า “อาจารย์”
ได้ว่า “เป็นผู้สอน
วิชาความรู้และอบรมความประพฤติของลูกศิษย์ เป็นผู้มีสถานะภาพสูงกว่า “ครู” และมัก เป็นผู้ที่ทำการสอนในระดับวิทยาลัย
และมหาวิทยาลัย”
ในปัจจุบันนี้
ผู้ที่ทำหน้าที่การสอนไม่ว่าจะมีคุณวุฒิระดับใด ทำการสอนในระดับ ไหน
จะนิยมเรียกว่า “อาจารย์”
เหมือนกันหมด ซึ่งมิใช่เรื่องเสียหายอะไร ในทางตรงกัน ข้าม
กลับจะเป็นการยกย่องและให้ความเท่าเทียมกันกับคนที่ประกอบวิชาชีพเดียวกัน ดังนั้น
สิ่งสำคัญที่สุดมิใช่เป็นคำว่า “ครู” หรือ
“อาจารย์” แต่อยู่ที่การทำหน้าที่ของตนให้
สมบูรณ์ที่สุด
ความหมายของคำที่เกี่ยวกับ
ครู-อาจารย์
คำที่มีความหมายคล้ายกับ ครู มีหลายคำ เช่น
1. อุปัชฌาย์ - ท่านพุทธทาสภิกขุ อธิบายความหมายของ “อุปัชฌาย์” ว่า หมายถึง ผู้สอนวิชาชีพ แต่ในปัจจุบันนี้ หมายถึง พระเถระ ผู้ใหญ่ ที่ทำหน้าที่เป็นผู้บวชกุลบุตรในพระพุทธศาสนา
2. ทิศาปาโมกข์ - หมายถึง อาจารย์ที่มีความรู้และชื่อเสียงโด่งดัง ในสมัยโบราณ ผู้มีอันจะกินจะต้องส่งบุตรหลานของตนไปสู่สำนัก ทิศา ปาโมกข์ เพื่อให้เรียนวิชาที่เป็นอาชีพ หรือ วิชาชั้นสูงใน สาขาวิชาต่าง ๆ เพื่อกลับไปรับหน้าที่ทำการงานที่สำคัญ ๆ
คำที่มีความหมายคล้ายกับ ครู มีหลายคำ เช่น
1. อุปัชฌาย์ - ท่านพุทธทาสภิกขุ อธิบายความหมายของ “อุปัชฌาย์” ว่า หมายถึง ผู้สอนวิชาชีพ แต่ในปัจจุบันนี้ หมายถึง พระเถระ ผู้ใหญ่ ที่ทำหน้าที่เป็นผู้บวชกุลบุตรในพระพุทธศาสนา
2. ทิศาปาโมกข์ - หมายถึง อาจารย์ที่มีความรู้และชื่อเสียงโด่งดัง ในสมัยโบราณ ผู้มีอันจะกินจะต้องส่งบุตรหลานของตนไปสู่สำนัก ทิศา ปาโมกข์ เพื่อให้เรียนวิชาที่เป็นอาชีพ หรือ วิชาชั้นสูงใน สาขาวิชาต่าง ๆ เพื่อกลับไปรับหน้าที่ทำการงานที่สำคัญ ๆ
3. บุรพาจารย์ หรือ
บูรพาจารย์ คือ อาจารย์เบื้องต้น หมายถึง บิดา มารดา ซึ่ง
ถือว่าเป็นครูคนแรกของบุตร ธิดา
4. ปรมาจารย์ คือ อาจารย์ผู้เป็นเอกหรือยอดเยี่ยมในทางวิชาใดวิชาหนึ่ง
5. ปาจารย์ คือ อาจารย์ของอาจารย์
4. ปรมาจารย์ คือ อาจารย์ผู้เป็นเอกหรือยอดเยี่ยมในทางวิชาใดวิชาหนึ่ง
5. ปาจารย์ คือ อาจารย์ของอาจารย์
ส่วนคำศัพท์ในภาษาอังกฤษที่มีความหมายคล้ายกับคำว่า
ครู หรือ Teacher มีหลายคำ
คือ
1. Teacher หมายถึง ผู้ที่ทำหน้าที่ประจำในโรงเรียน หรือ สถาบันการศึกษา ต่าง ๆ ตรงกับคำว่า ครู หรือ ผู้สอน
2. Instructor หมายถึง ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้สอนโดยเฉพาะในวิทยาลัยหรือ มหาวิทยาลัย ตรงกับคำว่า อาจารย์
3. Professor (ในประเทศอังกฤษ) หมายถึง ตำแหน่งผู้สอนที่ถือว่าเป็น ตำแหน่งสูงสุดในแต่ละสาขาวิชาในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ แต่ใน อเมริกาและแคนาดาใช้เป็นคำนำหน้านามสำหรับผู้สอนใน วิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เช่น
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ใช้คำว่า Assistant Professor
รองศาสตราจารย์ ใช้คำว่า Associate Professor
ศาสตราจารย์ ใช้คำว่า Professor
4. Lecturer หมายถึง บุคคลผู้สอนในมหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัย ตรงกับคำว่า ผู้บรรยาย
5. Tutor หมายถึง ผู้ที่ทำหน้าที่สอนนักศึกษาเป็นกลุ่มเล็ก ๆ หรือ รายบุคคล โดยทำงานเป็นส่วนหนึ่งของผู้บรรยาย คล้าย ๆ กับ ผู้สอนเสริมหรือสอนกวดวิชา
6. Sophist เป็นภาษากรีกโบราณ หมายถึง ปราชญ์ผู้สอนวิชาต่าง ๆ คล้ายกับคำว่า “ทิศาปาโมกข์”
1. Teacher หมายถึง ผู้ที่ทำหน้าที่ประจำในโรงเรียน หรือ สถาบันการศึกษา ต่าง ๆ ตรงกับคำว่า ครู หรือ ผู้สอน
2. Instructor หมายถึง ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้สอนโดยเฉพาะในวิทยาลัยหรือ มหาวิทยาลัย ตรงกับคำว่า อาจารย์
3. Professor (ในประเทศอังกฤษ) หมายถึง ตำแหน่งผู้สอนที่ถือว่าเป็น ตำแหน่งสูงสุดในแต่ละสาขาวิชาในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ แต่ใน อเมริกาและแคนาดาใช้เป็นคำนำหน้านามสำหรับผู้สอนใน วิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เช่น
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ใช้คำว่า Assistant Professor
รองศาสตราจารย์ ใช้คำว่า Associate Professor
ศาสตราจารย์ ใช้คำว่า Professor
4. Lecturer หมายถึง บุคคลผู้สอนในมหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัย ตรงกับคำว่า ผู้บรรยาย
5. Tutor หมายถึง ผู้ที่ทำหน้าที่สอนนักศึกษาเป็นกลุ่มเล็ก ๆ หรือ รายบุคคล โดยทำงานเป็นส่วนหนึ่งของผู้บรรยาย คล้าย ๆ กับ ผู้สอนเสริมหรือสอนกวดวิชา
6. Sophist เป็นภาษากรีกโบราณ หมายถึง ปราชญ์ผู้สอนวิชาต่าง ๆ คล้ายกับคำว่า “ทิศาปาโมกข์”
ประเภทของครู
การแบ่งครูเป็นประเภทต่าง ๆ ย่อมขึ้นอยู่กับความรู้ความสามารถและหน้าที่ของ แต่ละบุคคล การแบ่งประเภทของครูอาจจะเป็นการช่วยกระตุ้นความเป็นครูให้ผู้ประกอบ วิชาชีพครูด้วย
ยนต์ ชุ่มจิต (2541: 22-23) ได้แบ่งประเภทครูตามลักษณะของงานออกเป็น 4 ประเภท คือ
1. ครูประจำบ้าน ได้แก่ พ่อ แม่ ซึ่งถือว่าเป็นครูคนแรกของลูก เพราะทั้งสอง ท่านย่อมจะมีความใกล้ชิดคอยดูแลปกป้องลูกตลอดเวลา จึงมีการยกย่องให้ พ่อ แม่ เป็น บูรพาจารย์ของลูก
2. ครูประจำโรงเรียน ได้แก่ ครูอาจารย์ที่ทำการสอนนักเรียนตามโรงเรียน หรือ สถานศึกษาต่าง ๆ จะกระทำโดยสำนึกหรือด้วยวิญญาณของความเป็นครูอย่างแท้จริง หรือกระทำตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากทางราชการ
3. ครูประจำวัด ได้แก่ พระภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนาหรือนักบวชในศาสนา นั้น ๆ ที่มีความรู้ความเข้าใจในหลักคำสอนในศาสนาของตนเพียงพอ และทำหน้าที่ เผยแพร่หลักธรรมคำสอนเพื่อให้ประชาชนมีศีลธรรมคุณธรรมประจำใจ
4. ครูประจำโลก ได้แก่ พระบรมศาสดาของพระพุทธศาสนา และศาสดาของ ศาสนาต่าง ๆ ที่ได้ค้นพบหลักธรรมคำสอนอันประเสริฐ แล้วนำหลักธรรมนั้น ๆ มา เผยแพร่อบรมให้มนุษย์ในโลกได้รู้ได้เข้าใจ และนำไปประพฤติปฏิบัติเพื่อความสุขความ เจริญและความร่มเย็นแห่งชีวิต
ภาวิไล นาควงษ์ (2545: 6-9) ได้แบ่งครูตามคุณสมบัติ ความสามารถและลักษณะการ ทำงานออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. ครูที่ดี คือ ครูที่มีความรู้และเชี่ยวชาญในสาขาวิชาของตน มีทักษะทางการ สอน มีคุณธรรม จริยธรรม มีความรับผิดชอบสูง เอาใจใส่ปรับปรุงตนเองทั้งในด้านความรู้ การสอน และคุณธรรมอย่างสม่ำเสมอ ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีของลูกศิษย์
การแบ่งครูเป็นประเภทต่าง ๆ ย่อมขึ้นอยู่กับความรู้ความสามารถและหน้าที่ของ แต่ละบุคคล การแบ่งประเภทของครูอาจจะเป็นการช่วยกระตุ้นความเป็นครูให้ผู้ประกอบ วิชาชีพครูด้วย
ยนต์ ชุ่มจิต (2541: 22-23) ได้แบ่งประเภทครูตามลักษณะของงานออกเป็น 4 ประเภท คือ
1. ครูประจำบ้าน ได้แก่ พ่อ แม่ ซึ่งถือว่าเป็นครูคนแรกของลูก เพราะทั้งสอง ท่านย่อมจะมีความใกล้ชิดคอยดูแลปกป้องลูกตลอดเวลา จึงมีการยกย่องให้ พ่อ แม่ เป็น บูรพาจารย์ของลูก
2. ครูประจำโรงเรียน ได้แก่ ครูอาจารย์ที่ทำการสอนนักเรียนตามโรงเรียน หรือ สถานศึกษาต่าง ๆ จะกระทำโดยสำนึกหรือด้วยวิญญาณของความเป็นครูอย่างแท้จริง หรือกระทำตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากทางราชการ
3. ครูประจำวัด ได้แก่ พระภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนาหรือนักบวชในศาสนา นั้น ๆ ที่มีความรู้ความเข้าใจในหลักคำสอนในศาสนาของตนเพียงพอ และทำหน้าที่ เผยแพร่หลักธรรมคำสอนเพื่อให้ประชาชนมีศีลธรรมคุณธรรมประจำใจ
4. ครูประจำโลก ได้แก่ พระบรมศาสดาของพระพุทธศาสนา และศาสดาของ ศาสนาต่าง ๆ ที่ได้ค้นพบหลักธรรมคำสอนอันประเสริฐ แล้วนำหลักธรรมนั้น ๆ มา เผยแพร่อบรมให้มนุษย์ในโลกได้รู้ได้เข้าใจ และนำไปประพฤติปฏิบัติเพื่อความสุขความ เจริญและความร่มเย็นแห่งชีวิต
ภาวิไล นาควงษ์ (2545: 6-9) ได้แบ่งครูตามคุณสมบัติ ความสามารถและลักษณะการ ทำงานออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. ครูที่ดี คือ ครูที่มีความรู้และเชี่ยวชาญในสาขาวิชาของตน มีทักษะทางการ สอน มีคุณธรรม จริยธรรม มีความรับผิดชอบสูง เอาใจใส่ปรับปรุงตนเองทั้งในด้านความรู้ การสอน และคุณธรรมอย่างสม่ำเสมอ ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีของลูกศิษย์
2. ครูที่พอใช้ได้
คือ ครูที่มีความรู้ดี สอนใช้ได้แต่ไม่ทุ่มเทในการสอน ไม่
เคร่งครัดในจรรยาบรรณวิชาชีพครู ไม่สนใจในการพัฒนาตนเอง และมีความประพฤติที่
เป็นแบบอย่างได้ในบางเรื่อง
3. ครูที่ไม่ควรเป็นครู คือ ครูที่รู้ไม่จริงในวิชาที่สอน และสอนไม่ดี ไม่ตั้งใจ ทำงาน ขาดคุณธรรม ไม่สนใจปรับปรุงพัฒนาตนและประพฤติตนไม่เหมาะสม ไม่สมควร เอาเป็นตัวอย่าง
3. ครูที่ไม่ควรเป็นครู คือ ครูที่รู้ไม่จริงในวิชาที่สอน และสอนไม่ดี ไม่ตั้งใจ ทำงาน ขาดคุณธรรม ไม่สนใจปรับปรุงพัฒนาตนและประพฤติตนไม่เหมาะสม ไม่สมควร เอาเป็นตัวอย่าง
ความสำคัญของวิชาชีพครู
อาชีพทุกอาชีพย่อมมีความสำคัญต่อบุคคลและสังคมด้วยกันทั้งนั้น เป็นการยากที่ จะบ่งบอกว่า อาชีพใดสำคัญกว่าอาชีพใด แต่ในที่นี้เราจะพิจารณาเฉพาะอาชีพครูว่ามีความสำคัญต่อสังคมและประเทศชาติเพียงใด จึงขออัญเชิญพระราโชวาทของสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จ การศึกษาจากวิทยาลัยครู ณ อาคารใหม่สวนอัมพร วันพุธที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 ความตอนหนึ่งว่า
อาชีพทุกอาชีพย่อมมีความสำคัญต่อบุคคลและสังคมด้วยกันทั้งนั้น เป็นการยากที่ จะบ่งบอกว่า อาชีพใดสำคัญกว่าอาชีพใด แต่ในที่นี้เราจะพิจารณาเฉพาะอาชีพครูว่ามีความสำคัญต่อสังคมและประเทศชาติเพียงใด จึงขออัญเชิญพระราโชวาทของสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จ การศึกษาจากวิทยาลัยครู ณ อาคารใหม่สวนอัมพร วันพุธที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 ความตอนหนึ่งว่า
“.....อาชีพครูถือว่าสำคัญอย่างยิ่ง
เพราะครูมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาประเทศ ให้เจริญมั่นคง
และก่อนที่จะพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญได้นั้น จะต้องพัฒนาคน ซึ่งได้แก่
เยาวชนของชาติเสียก่อน
เพื่อให้เยาวชนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณค่าสมบูรณ์ทุกด้านจึงสามารถช่วยกันสร้างความเจริญให้แก่ชาติต่อไปได้......”
จากพระราโชวาทของสมเด็จพระเทพฯ ตามที่ได้อัญเชิญมากล่าวไว้ข้างต้น เป็น เครื่องยืนยันให้เห็นถึงความสำคัญของครูที่มีต่อความเจริญของบุคคล และชาติบ้านเมือง เป็นอย่างยิ่ง ชาติบ้านเมืองจะเจริญได้เพราะประชาชนในชาติได้รับการศึกษาที่ดี และมีครู ที่มีคุณภาพ
จากพระราโชวาทของสมเด็จพระเทพฯ ตามที่ได้อัญเชิญมากล่าวไว้ข้างต้น เป็น เครื่องยืนยันให้เห็นถึงความสำคัญของครูที่มีต่อความเจริญของบุคคล และชาติบ้านเมือง เป็นอย่างยิ่ง ชาติบ้านเมืองจะเจริญได้เพราะประชาชนในชาติได้รับการศึกษาที่ดี และมีครู ที่มีคุณภาพ
สมญานามที่เน้นให้เห็นความสำคัญของครู
1.ครู คือ นักปฏิวัติในสนามรบทางการศึกษา
1.ครู คือ นักปฏิวัติในสนามรบทางการศึกษา
หมายความว่า
ครูเป็นผู้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการศึกษาของชาติบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้น
ภารกิจที่ครูพึงกระทำหรือจำเป็นต้องกระทำในฐานะนักปฏิวัติในสนามรบทางการศึกษา เช่น
ร่วมกับคณะครูสำหรับพัฒนาการศึกษาในโรงเรียนที่ตนปฏิบัติงาน ร่วมกับคณะครูในโรงเรียนเพื่อช่วยกำหนดนโยบายสำหรับการดำเนินงานเพื่อพัฒนาการศึกษาของโรงเรียน
ร่วมกับคณะครูเพื่อพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้สนองความต้องการท้องถิ่น
ร่วมกับคณะครูเพื่อปรับปรุงวิธีการสอนให้ทันสมัย และร่วมคิดจัดสื่อการสอนให้ทันสมัย
ประหยัดและเกิดประโยชน์สูงสุด
2.ครู คือ
ผู้ใช้อาวุธลับของชาติ
หมายความว่า
ครูเป็นผู้คอยอบรมสั่งสอนนักเรียนนักศึกษาซึ่งเปรียบเสมือนอาวุธลับของชาติให้เป็นไปตามสังคมกำหนด
ภารกิจที่ครูพึงกระทำในฐานะผู้ใช้อาวุธลับของชาติ เช่น
ปลูกฝังให้ศิษย์จงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ปลูกฝังให้ศิษย์ยึดมั่นในประชาธิปไตย ปลูกฝังให้ศิษย์มีความซื่อสัตย์ ปลูกฝังให้ศิษย์เข้าใจสิทธิและหน้าที่
ปลูกฝังให้ศิษย์เคารพสิทธิและหน้าที่ของบุคคลอื่น ปลูกฝังให้ศิษย์บำเพ็ญตนเป็นพลเมืองที่ดี ปลูกฝังให้ศิษย์เคารพกฎระเบียบของสังคม ปลูกฝังให้ศิษย์มีน้ำใจนักกีฬา
และปลูกฝังให้ศิษย์รู้จักสละประโยชน์ส่วนน้อยของตนเพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของสังคม
3.ครู คือ ทหารเอกของชาติ
3.ครู คือ ทหารเอกของชาติ
หมายความว่า
ครูเป็นบุคคลที่มีความเก่งมีความสามารถ เป็นผู้นำของชาติบ้านเมืองในทุกๆด้าน
ภารกิจที่ครูพึงกระทำหรือจำเป็นต้องกระทำในฐานะทหารเอกของชาติ เช่น
เป็นผู้นำด้านระเบียบพิธีทางศาสนาและวัฒนธรรมในชุมชมท้องถิ่น เป็นผู้เผยแพร่หลักธรรมคำสอนแก่ชุมชน เป็นผู้นำความเจริญงอกงามทางวัฒนธรรมที่ดีมาสู่ชุมชน
เป็นผู้นำทางความคิดแก่ชุมชนเพื่อพัฒนาอาชีพ เป็นผู้ให้คำปรึกษาแก่ชุมชม
เป็นผู้นำทางการเมืองการปกครอบในระบอบประชาธิปไตย
เป็นผู้เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในชุมชน และเป็นผู้ประสานความเข้าใจอันดีระหว่างชุมชน
4.ครู คือ แม่พิมพ์ของชาติ
4.ครู คือ แม่พิมพ์ของชาติ
หมายความว่า
ครูเป็นแบบอย่างแก่เยาวชนและบุคคลทั่วไปทั้งด้านความรู้และพฤติกรรมต่างๆ
ภารกิจที่ครูพึงกระทำหรือจำเป็นต้องกระทำในฐานะแม่พิมพ์ของชาติ เช่น
เป็นแบบอย่างที่ดีในการปฏิบัติตามมารยาทไทย
เป็นแบบอย่างที่ดีแก่การปฏิบัติตนเหมาะสมกับวัฒนธรรมไทย
เป็นแบบอย่างที่ดีโดยนำเอาหลักธรรมในการปฏิบัติใช้ในชีวิตประจำวัน เป็นแบบอย่างที่ดีด้านความซื่อสัตย์ เป็นแบบอย่างที่ดีด้านการประหยัดอดออม
เป็นแบบอย่างที่ดีด้านการพัฒนาตนเอง เป็นแบบอย่างที่ดีในการแต่งกาย เป็นแบบอย่างที่ดีด้านสุขอนามัย เป็นแบบอย่างที่ดีด้านการบำเพ็ญตนเป็นพลเมืองดี เป็นแบบอย่างที่ดีด้านการใช้ภาษาไทย เป็นแบบอย่างที่ดีด้านความจงรักภักดีต่อชาติ
ศาสนา พระมหากษัตริย์
และเป็นแบบอย่างที่ดีด้านเป็นบุคคลที่มีชิวิตในครอบครัวอย่างผาสุก
5.ครู คือ กระจกเงาของศิษย์
5.ครู คือ กระจกเงาของศิษย์
หมายความว่า ครูเป็นผู้คอยชี้แนะ
แนะนำตักเตือนศิษย์ให้ตั้งอยู่ในความดี ไม่กระทำสิ่งที่นำความเดือนร้อนมาสู่ตัวเองหรือผู้อื่น
ภารกิจที่ครูพึงกระทำหรือจำเป็นต้องกระทำในฐานะกระจกเงาของศิษย์ เช่น
ตักเตือนศิษย์ที่แต่งกายไม่ถูกต้อง
ตักเตือนศิษย์ที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม
ตักเตือนศิษย์มิให้ครบเพื่อนซึ่งมีพฤติกรรมทางเสื่อมเสีย ตักเตือนศิษย์ที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวต่อเพื่อน
ตักเตือนศิษย์ให้เลิกลักขโมย
ตักเตือนศิษย์ให้ตรงต่อเวลา ตักเตือนศิษย์ที่มีนิสัยเกียจคร้าน
ตักเตือนศิษย์ให้ไม่เลียนแบบพฤติกรรมไม่ดีงานจากบุคคลที่มีชื่อเสียง
และตักเตือนศิษย์มิให้ปฏิบัติตามค่านิยมไม่ดีงามบางอย่าง
6.ครู คือ ดวงประทีปส่องทาง
หมายความว่า
ครูเป็นผู้ให้ความรู้ให้ปัญญาแก่เยาวชน
คนที่มีปัญญาย่อมมองเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเหมือนมีดวงประทีปส่องทางให้กับตนเองตลอดเวลา
ภารกิจที่ครูพึงกระทำหรือจำเป็นต้องกระทำในฐานะดวงประทีปส่องทาง เช่น
ให้ความรู้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ
สอนศิษย์ให้รู้จักพิจารณาสิ่งต่างๆ
สอนให้ศิษย์ละเว้นความชั่วทั้งปวง สอนให้ศิษย์ประพฤติแต่สิ่งดีงาม
แนะนำศิษย์ให้สำรวจว่าตนเองมีความสามารถด้านใด
แนะแนวอาชีพที่ตรงกับความถนัดของศิษย์
ให้ความรู้ทันสมัยแก่ศิษย์เพื่อให้ศิษย์เป็นคนทันโลกทันเหตุการณ์
แนะนำแหล่งวิทยาการแก่ศิษย์ และแนะนำสิ่งที่เป็นบุญกุศลแก่ศิษย์
7. ครู คือ ผู้สร้างโลก
หมายความว่า
ครูเป็นผู้พัฒนาคนให้มีความรู้ความสามารถเพื่อให้คนเหล่านั้นไปพัฒนาสังคมประชาชาติ
ภารกิจที่ครูพึงกระทำหรือจำเป็นต้องกระทำในฐานะผู้สร้างโลก เช่น
สอนให้ศิษย์เป็นนักคิด
สอนให้ศิษย์มีจิตใจที่เข้มแข็ง สอนให้ศิษย์ขยัน
สอนให้ศิษย์สร้างครอบครัวที่มั่นคง
สอนให้ศิษย์ใช้ความรู้ความสามารถให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม สอนให้ศิษย์สามัคคี
และสอนให้ศิษย์พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
8.ครู คือ ผู้กุมความเป็นความตายของชาติไว้ในกำมือ
8.ครู คือ ผู้กุมความเป็นความตายของชาติไว้ในกำมือ
หมายความว่า
ชาติจะเจริญก้าวหน้าหรือล้มสลายก็เพราะครู
ภารกิจที่ครูพึงกระทำหรือจำเป็นต้องกระทำในฐานะผู้กุมความเป็นความตายของชาติไว้ในกำมือ
เช่น ไม่สอนวิชาที่ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาแก่ศิษย์
ไม่แนะนำสิ่งผิดให้นักเรียน
ไม่ยุยงให้ศิษย์สร้างความแตกร้าวในสังคม
ไม่แสดงความคิดเห็นที่เป็นมิจฉาทัฏฐิให้ศิษย์ในที่สาธารณะ ไม่สอนศิษย์เพียงให้พ้นหน้าที่ประจำวัน
ไม่เป็นผู้ก่อความแตกร้าวทางความคิดให้แก่คนในชาติ
และไม่อาศัยชื่อเสียงหรือบารมีของตนเพื่อสร้างความสับสนให้กับสังคม
9.ครู คือ ปูชนียบุคคล
หมายความว่า
ครูเป็นบุคคลที่มีความน่าเคารพบูชาของศิษย์และบุคคลทั่วไป
ภารกิจที่ครูพึงกระทำหรือจำเป็นต้องกระทำในฐานะปูชนียบุคคล เช่น
ลดละเลิกพฤติกรรมที่เป็นความชั่วทางกายทั้งปวง ฝึกฝนให้ตนมีวจีสุจริต ฝึกให้ตนมีมโนสุจริต พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องทั้งกายและใจ
และพยายามสั่งสมวิชาความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรม
10.ครู คือ วิศวกรสังคม
10.ครู คือ วิศวกรสังคม
หมายความว่า
ครูเป็นนักสร้างให้เป็นไปตามทิศทางที่สังคมต้องการ เนื่องจากปัจจุบันสังคมยกย่องให้ครูเป็นวิศวกรทางสังคม
เพราะครูทำหน้าที่เสมือนวิศวกรทางด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์
งานของครูในฐานะเป็นวิศวกรสังคม มีดังนี้ ครูทำงานวิจัย ครูทำงานพัฒนา
ครูทำงานออกแบบ ครูทำงานผลิต ครูทำงานก่อนสร้าง ครูทำงานควบคุมโรงเรียน ครูทำงานทดสอบ ครูทำงานการขายและการตลาด ครูทำงานบริหาร ครูทำงานที่ปรึกษา
และครูทำงานการศึกษาโดยตรง
จากที่กล่าวมาตั้งแต่ต้น ก็เพื่อที่จะสื่อถึงทุกคนให้ทราบว่า
ทุกคนเกิดมาในโลกนี้ล้วนมีครูด้วยกันทั้งสิ้น ไม่มีใครที่รู้โดยไม่มีครู
สมเด็จพระบรมศาสดา สัมมาสัมพุทธเจ้า ก่อนที่พระองค์จะทรงได้รับการยกย่องให้ทรงเป็นศาสดาเอกของโลก
พระองค์ก็มีครู
พระองค์เคยได้รับการอบรมสั่งสอนในฐานะศิษย์ตั้งแต่ครั้งยังทรงพระเยาว์
จนเสด็จออกแสวงหาทางพ้นทุกข์
ในเบื้องต้นก็ยังต้องดำเนินมรรคาในฐานะศิษย์ของผู้รู้ในสมัยนั้น หากคุณความดีของบทความนี้จะพอมีประโยชน์แก่ผู้อ่านอยู่บ้างก็ขอน้อมเป็นเครื่องสักการะเพื่อบูชาคุณความดีของครูผู้ยิ่งใหญ่
มีบิดามารดา ครูและบูรพาจารย์ รวมถึงผู้ให้แสงสว่างชี้นำทางชีวิต ด้วยคารวะสูงยิ่ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น